กรณีศึกษาที่1
โครงงานพัฒนาเว็บไซต์แนะนำการใช้ห้องสมุด
แนวคิดเชิงคำนวณเป็นกระบวนการคิดที่ต้องใช้ทักษะและเทคนิคเพื่อแก้ไขปัญหาแบบมีขั้นตอนและเป็นระบบ
เพื่อสามารถลำดับขั้นตอนในการแก้ปัญหาเชิงนามธรรมได้
1.1
การประยุกต์แนวคิดเชิงคำนวณเพื่อแก้ปัญหา
โรงเรียนแห่งหนึ่งต้องการพัฒนาเว็บไซต์แนะนำการใช้ห้องสมุดของโรงเรียน
โดยมีความต้องการของระบบเบื้องต้นดังนี้
1.โรงเรียนต้องการให้พัฒนาเว็บไซต์แนะนำการใช้งานห้องสมุดในลักษณะเว็บแอปพลิเคชันและรองรับการทำงานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่
เช่น สมาร์ตโฟนหรือแท็บแล็ต เป็นต้น
เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้งานเว็บไซต์นี้ได้ตลอดเวลา
และปรับเปลี่ยนการแสดงผลให้เป็นไปตามอุปกรณ์ที่ใช้งาน
2.เว็บไซต์นี้ต้องแนะนำการใช้งานห้องสมุดโดยครอบคลุมหัวข้อ
ดังนี้
•แนะนำจุดที่ตั้งชั้นวางหนังสือประเภทต่างๆในห้องสมุด
•แนะนำการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายนอก
•แสดงข่าวประชาสัมพันธ์ต่างๆของห้องสมุด
•สามารถสืบค้นหนังสือในห้องสมุดได้
•ผู้ใช้งาน
คือ ครู อาจารย์ นักเรียน และบุคลากรภายในโรงเรียน
3.จัดเก็บข้อมูลในลักษณะฐานข้อมูล
1.แตกปัญหาใหญ่ให้เป็นปัญหาย่อย (Decomposition)ที่มีขนาดเล็กลง เพื่อให้สามารถจัดการปัญหาได้ง่ายขึ้น จากรายละเอียดและความต้องการเบื้องต้น ปัญหาใหญ่ คือ การพัฒนาเว็บไซต์แนะนำการใช้งานห้องสมุด โดยสามารถแยกแยะปัญหาออกเป็นประเด็นย่อยต่างๆได้ ดังนี้
1.เว็บไซต์นี้จะแสดงผลรับรองการทำงานบนอุปกรณ์ใดบ้าง
•การทำงานรองรับบนอุปกรณ์หลายประเภทได้อย่างไร
2.เว็บไซต์มีฟังก์ชันการทำงานใดบ้าง
•แนะนำกฎระเบียบต่างๆในการใช้งานห้องสมุดได้อย่างไร
•แนะนำขั้นตอนการยืม-คืนหนังสือ
และสื่อการเรียนรู้อื่นๆได้อย่างไร
•แนะนำขั้นตอนการสืบค้นหนังสือได้อย่างไร
•แนะนำวิธีการใช้งานสื่อการเรียนรู้ต่างๆในห้องสมุดได้อย่างไร
•เรียกดูข่าวประชาสัมพันธ์ต่างๆของห้องสมุดได้อย่างไร
•การสืบค้นหนังสือในห้องสมุดได้อย่างไร
3.เว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างไร
•การจัดเก็บข้อมูลในเว็บไซต์จะอยู่ในรูปแบบใด
4.เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนามีอะไรบ้าง
•ภาษาโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาใช้ภาษาอะไรบ้าง
•ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนามีอะไรบ้าง
5.ระยะเวลาและแผนงานเป็นอย่างไร
6.จำนวนคนที่ใช้ในการพัฒนาประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง
7.ตัวเว็บไซต์แนะนำการใช้ห้องสมุด
จะมาจากการแก้ปัญหาการแสดงผล ฟังก์ชันงาน การจัดเก็บข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ระยะเวลา และจำนวนคนที่ใช้ในการพัฒนา
2.กำหนดแบบแผนจากปัญหาย่อยต่างๆ(Pattern Recognition) คือ การมองหารูปแบบของปัญหา หรือ สถานการณ์(pattern) ที่เกิดขึ้นซ้ำๆหรือรูปแบบของปัญหาที่เหมือนกัน จากปัญหาย่อยที่ได้จากขั้นตอน Decomposition เช่น ในการเขียนประโยคภาษาอังกฤษต่างๆนั้น แบบแผนในการเขียนสามารถกำหนดได้ ดังนี้
•ประโยคนี้มีกิริยา (Verb) เป็นอะไร
•ประธานของประโยคอะไร
•ประโยคนี้มีกรรมหรือไม่ (กรรมของประโยคคืออะไร)
3.หาแนวคิดเชิงนามธรรม เพื่อหาแนวคิดรวบยอดของแต่ละปัญหา(Abstraction)
การมองภาพรวมเพื่อนิยามสิ่งที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อย เช่น ในการบริหารเวลานั้นนักวางแผนใช้การวางแผนรายสัปดาห์แทนรายวันและรายชั้วโมง
(1)เว็บไซต์ทุกหน้ามีการแสดงผลรูปแบบเดียวกัน responsive website ทั้งส่วนที่เป็น Static web และdynamic
web แล้วจึงเลือกใช้เฟรมเวิร์ก bootrap ในการพัฒนา
(3)ระยะเวลาและการวางแผนงานโดยใช้แผนภูมิแกนต์
(4)ใช้ผังองค์กรในการกำหนดงานและจำนวนคนเพื่อความเหมาะสมกับงาน
4.ออกแบบลำดับชั้นตอนการแก้ปัญหา (Algorithm Design) ออกแบบลำดับขั้นตอนของการแก้ปัญหา ด้วยการคิดเชิงอัลกอริทึม เป็นความคิดถึงพื้นฐาน ในการสร้างชุดของลำดับขั้นตอนวิธีง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาที่มีลักษณะแบบเดียวกัน